เช็กด่วน โรคที่มีผลต่อการขับขี
07/08/2020 | 7748
เนื่องจากต้องรับมือกับสภาวะความเครียด และใช้สมาธิอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆในการขับรถ ผู้ขับขี่จำเป็น ต้องมีสภาวะร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์หากมีโรคประจำตัว ควรมีข้อควรระวังจำแนกตามชนิดของโรคต่างๆ ดังน
1.โรคเบาหวาน
ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ความเสี่ยงนี้แตกต่างกันตามความรุนแรง ของโรค โดยอาจมีอาการใจสั่น กระสับกระส่าย คลื่นไส้เหงื่อออก หรือรู้สึกหิว ซึ่งควรรับประทานน้ำผลไม้หรือ นมทันทีหากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดอาการ มึนงง ตัวเย็น หลงลืม ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้
1) ผู้ที่รักษาโดยการควบคุมอาหารอย่างเดียว หากไม่มีผลข้างเคียงจากโรค เช่น ภาวะตาพร่ามัวจากเบาหวาน สามารถขับขี่รถได้ตามปกติ
2) ผู้ที่รักษาโดยยากิน ซึ่งไม่มีผลความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ สามารถขับขี่รถได้ตามปกติผู้ที่รักษา โดยยากินซึ่งอยู่ในกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและไม่มีอาการแสดงของภาวะน้ำตาล ในกระแสเลือดต่ำในระดับ ซึ่งต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นใน 3-12 เดือนที่ผ่านมา สามารถขับขี่ได้ โดยต้องระมัดระวังและตระหนักถึงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีการตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด อย่าง น้อย 2 ครั้งต่อวัน
3) ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ที่รับการรักษาโดยการฉีดอินซูลิน ต้องไม่มีอาการของภาวะระดับน้ำตาลใน เลือดต่ำในระดับซึ่งต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นใน 3-12 เดือนที่ผ่านมา สามารถขับขี่รถได้โดยต้อง ระมัดระวังและตระหนักถึงอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน และต้องผ่านการตรวจสายตา อย่างไรก็ตาม ผู้ขับขี่ซึ่งมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งไม่ปรากฏอาการ ควรงดการขับขี่จนกว่าจะสามารถควบคุมอาการได้โดยสรุปแล้วผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรตระหนักถึงอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดเบาและรุนแรงโดยควรหยุดพักการขับขี่เป็นระยะๆ และรับประทานอาหารว่าง รวมทั้งเตรียมของหวานไว้ใกล้ตัว สำหรับเมื่อเผชิญสัญญาณเตือนของภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และใส่ป้ายสายคล้อยข้อมือ เป็นสัญลักษณ์ว่าเป็น โรคเบาหวาน เพื่อความรวดเร็วในการช่วยเหลือ หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดรุนแรง
2. โรคลมชัก
ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถที่มีประวัติการชัก ควรได้รับการพิจาณาโดยแพทย์อย่างระมัดระวังทุกกรณีผู้ซึ่งมี อาการชักจากการดื่มแอลกอฮอล์หรือยาจำเป็นต้องได้รับการรักษาจนไม่มีอาการ อย่างน้อย 6 เดือน ผู้ขับขี่ ที่มีอาการชัก 2ครั้งขึ้น ภายในระยะเวลา 5 ปีและไม่มีการชักโดยปราศจากปัจจัยกระตุ้นเกิดขึ้นในระยะเวลา 1 ปีอย่างไรก็ตาม การชักบางชนิดจะได้รับการงดเว้น เช่น การชักจากการปรับยาและเกิดขึ้นมากกว่า 6 เดือน ก่อนขอรับใบอนุญาตขับรถ การชักที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับที่เกิดขึ้นนานกว่า 1 ปีก่อนขอรับใบอนุญาตขับรถ โดยไม่เคยพบการชักขณะตื่น หรือการชักที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับที่เกิดขึ้นนานกว่า3 ปีก่อนขอรับใบอนุญาตขับรถ โดยพบการชักโดยปราศจากปัจจัยกระตุ้น (Unprovoked Seizure) ขณะตื่นนานกว่า 3 ปีก่อนขอรับใบอนุญาต ร่วมด้วย การชักชนิดแยกส่วนซึ่งเกิด (Isolate Seizure) นานกว่า 6 เดือนก่อนขอรับใบอนุญาตขับรถ หรือนาน กว่า1 ปีหากมีโรคซึ่งเป็นสาเหตุการชักนั้นและอาจเพิ่มความเสี่ยงในอนาคต และทั้งสองกรณีต้องไม่พบการชัก โดยปราศจากปัจจัยกระตุ้น สำหรับผู้ขับขี่รถสาธารณะ เช่น รถประจำทาง ซึ่งมีอาการชัก 2 ครั้งขึ้นไป หรือจำเป็นต้องใช้ยากันชักเพื่อ ควบคุมอาการใน 10 ปีที่ผ่านมานับจากการชักครั้งสุดท้ายและไม่ได้ใช้ยากันชักใดๆ การชักชนิดแยกส่วน ซึ่งไม่มีการชักโดยปราศจากปัจจัยกระตุ้น และไม่ได้ใช้ยากันชักเพื่อควบคุมอาการ นานกว่า5 ปีสามารถขับขี่รถได้
3. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
ผู้ขับขี่รถยนต์ที่เคยผ่านการผ่าตัดหัวใจ หรือเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจสามารถขับขี่ได้ตามปกติโดยพึงระวัง ถึงความปลอดภัยของตนเอง อย่างไรก็ตาม ควรหยุดขับขี่อย่างน้อย 1 เดือน หลังจากได้รับการผ่าตัดหัวใจ หรือ มีอาการเจ็บหน้าอก หากมีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก หรือเมื่อเกิดความเครียด ควรหยุดขับขี่จนกว่าจะสามารถ ควบคุมอาการได้ในกรณีที่ผู้ขับขี่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ควรหยุดขับขี่ทุกกรณีจนกว่าจะได้รับการรับรอง จากผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ผู้ขับขี่รถสาธารณะควรหยุดการขับขี่ทุกกรณีจนกว่าจะได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านโรคหัวใจ
4. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
สามารถทำการขับขี่รถต่อไปได้หากไม่มีอาการที่ส่งผลต่อการควบคุมยานพาหนะ
5. โรคไต เช่น ภาวะไตวายเรื้อรัง หรืออยู่ระหว่างการฟอกเลือด
สามารถขับขี่รถได้ยกเว้นว่าพบปัญหาในด้านเกลือแร่อย่างรุนแรงจนทำให้เสี่ยงต่อการหมดสติหรือไม่สามารถ ควบคุมรถได้ไม่ควรขับขี่รถสาธารณะ
6. โรคหอบหืดและถุงลมโป่งพอง
สามารถขับขี่ได้ตามปกติหากไม่มีอาการระดับที่เสี่ยงต่อการหมดสติหรือไม่สามารถควบคุมรถได้
7. ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง หรืออยู่ระหว่างรับการรักษาโดยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
สามารถขับขี่รถได้หากไม่มีการกระจายตัวไปยังสมอง หรืออ่อนเพลียมากจากอาการแสดงของมะเร็ง (Cachexia)หรือ แพร่กระจายไปยังแขนขา ทำให้ไม่สามารถควบคุมยานพาหนะได้
8. ผู้เป็นใบ้
สามารถขับขี่รถได้ตามปกติ
9. ผู้ติดเชื้อ HIV
สามารถขับขี่รถได้ตามปกติ
10. โรคความดันโลหิตสูง
ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนตัวสามารถขับขี่ได้ถามปกตินอกจากจะพบผลข้างเคียงจากยาดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ผู้ขับขี่ รถยนต์สาธารณะไม่ควรขับขี่เมื่อความดันโลหิตขณะพักผ่อนสูงกว่า180/100 ค่าใดค่าหนึ่ง
11. สายตา และการมองเห็น
ผู้ที่สูญเสียดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง สามารถขับขี่ได้หากสายตาเป็นไปตามที่กำหนด ผู้ขับขี่ต้องได้รับการตรวจ สายตาโดยไม่พบภาวะลานสายตาแคบ หรือภาวะเห็นภาพซ้อน/เบลอ ที่ไม่สามารถควบคุมได้สำหรับลานสายตา มีข้อกำหนดดังนี้
1) ลานสายตา (Visual Field) สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนตัว ต้องมีความกว้างของลานสายตามากกว่าหรือ เท่ากับ120 องศา โดยแบ่งเป็น 50 องศา ด้านซ้ายและขวา 20 องศา ด้านบนและล่าง โดยไม่พบความ ผิดปกติในช่วง20องศาตรงกลางลานสายตา
2) ลานสายตา (VisualField) สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะจำเป็นต้องมีข้อกำหนดที่สูงกว่าผู้ขับขี่รถยนต์ ส่วนตัว โดยต้องมีความกว้างของลานสายตามากกว่าหรือเท่ากับ 160องศา โดยแบ่งเป็น 70องศา ด้าน ซ้ายและขวา30องศา ด้านบนและล่าง โดยไม่พบความผิดปกติในช่วง30องศาตรงกลางลานสายตา
3) ภาวะบกพร่องทางสายตาที่สำคัญ (Visual Disability) ผู้ที่ตาบอดสีไม่สามารถขอรับใบอนุญาตขับรถได้ ผู้ที่เห็นภาพซ้อน ควรหยุดขับขี่จนกว่าจะได้การรักษาโดยจักษุแพทย์ผู้ป่วยที่พึ่งสูญเสียดวงตาไปข้างหนึ่ง จำเป็นต้องใช้เวลาในการปรับตัวต่อการมองเห็นด้วยตาข้างเดียว ซึ่งขึ้นกับสภาพร่างกายของและบุคคล ผู้ขับขี่จึงควรใช้ความระมัดระวังในช่วงนั้น
4) ความสามารถในการมองเห็น (Visual Acuity) ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนตัวและสาธารณะ ต้องมีค่าสายตาที่สูง กว่า 20/60, 6/12, 0.5 หรือไม่สามารถมองเห็นเลขทะเบียนของรถคันหน้าที่อยู่ห่าง 20 เมตรขณะใส่แว่น สายตาไม่ควรขับขี่ ผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะซึ่งสายตาข้างใดข้างหนึ่งแย่กว่า จำเป็นต้องมีค่าสายตาข้างที่ ปกติมากกว่าหรือเท่ากับ 0.8(6/7.5) และ0.1(6/60) ในข้างที่แย่กว่า